[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
*** กำลังดำเนินการปรับปรุง/12 ตค 2566***

 

  

บทความทั่วไป
การศึกษาการอ่านหนังสือของคนไทย

ศุกร์ ที่ 11 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554

คะแนน vote : 185  

การศึกษาการอ่านหนังสือของคนไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอพฤติกรรมการอ่านหนังสือของประชากรในแต่ละวัยคือ วัยเด็ก (อายุ 6-14 ปี) วัยรุ่น (อายุ 15-24 ปี)วัยทำงาน(อายุ 25-59 ปี)และผู้สูงอายุ(อายุ 60 ปีขึ้นไป)โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของประชากรปี พ.ศ.2546 และครั้งล่าสุดเมื่อปี 2548 ที่จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งเป็นการสำรวจประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป สรุปประเด็นที่สำคัญดังนี้

 

 

การอ่านหนังสือของคนไทย หมายถึง การอ่านหนังสือทุกประเภทรวมทั้งตำราเรียน ตลอดจนการอ่านจากอินเทอร์เน็ต ผลจากการสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของประชากรปี 2546 และ 2548 พบว่าประชาชนมีแนวโน้มอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 61.2 ในปี 2546 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 69.1 ในปี 2548 แม้ชายจะมีการอ่านหนังสือมากกว่าหญิง แต่หญิงมีอัตราการเพิ่มของการอ่านหนังสือมากกว่าชาย

 

ประชากรในเขตเทศบาลมีการอ่านหนังสือมากกว่าประชากรที่อยู่นอกเขตเทศบาลทั้งนี้เนื่องจากมีแหล่งบริการ ร้านจำหน่าย และร้านให้เช่าหนังสืออยู่มากกว่า เมื่อจำแนกการอ่านหนังสือของประชากรตามวัยต่างๆพบว่า ในปี 2548 วัยเด็กมีการอ่านหนังสือมากที่สุด คือร้อยละ 87.7 รองลงมาคือ วันรุ่น(ร้อยละ 83.1)วัยทำงาน (ร้อยละ 65.0)และผู้สูงอายุ(ร้อยละ 37.4)

 

ประเภทหนังสือที่อ่าน หนังสือพิมพ์เป็นหนังสือที่มีคนอ่านมากที่สุด โดยในปี2548 มีผู้อ่านหนังสือพิมพ์เพิ่มขึ้นจากปี 2546 คิดเป็นร้อยละ 27.6 การอ่านหนังสือประเภทตำราเรียนตามหลักสูตรมีการอ่านลดลง จากร้อยละ 40.0 ในปี 2546 เหลือเพียงร้อยละ 34.4 ในปี 2548 นอกจากนี้หนังสือประเภทนิตยสาร วารสาร/เอกสารที่ออกเป็นประจำ ตำรา/หนังสือเกี่ยวกับความรู้ก็ยังมีการอ่านลดลงเช่นกัน

 

วัยเด็ก อ่านหนังสือประเภทตำราเรียนตามหลักสูตรมากที่สุด เนื่องจากยังอยู่ในวัยของการศึกษาภาคบังคับ รองลงมาคือนวนิยาย/การ์ตูน/หนังสืออ่านเล่น และตำรา/หนังสือเกี่ยวกับความรู้ วัยรุ่น อ่านหนังสือพิมพ์มากที่สุดถึงร้อยละ 68.9 ในปี 2546 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 77.5 ในปี 2548 หนังสือพิมพ์เป็นหนังสือที่วัยทำงานอ่านมากที่สุด คือ มากกว่าร้อยละ 85 ทั้งในปี 2546 และ 2548 หนังสือพิมพ์เป็นหนังสือที่ผู้สูงอายุนิยมอ่านมากที่สุดเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ผู้สูงอายุยังมีความสนใจในการอ่านจากอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 0.3 ในปี 2546 เป็นร้อยละ 1.7 ในปี 2548


            สรุป จากการสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของประชากร พบว่าประชากรมีแนวโน้มอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น คือจากร้อยละ 61.2 ในปี 2546 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 69.1 ในปี 2548 วัยเด็กมีการอ่านหนังสือมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 87.7 รองลงมาคือวัยรุ่น(ร้อยละ 83.1)วัยทำงาน(ร้อยละ 65.0)และผู้สูงอายุ (ร้อยละ 37.4)การไม่อ่านหนังสือของประชากรมีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 38.8 ในปี 2546เหลือร้อยละ 30.9 ในปี 2548 ทั้งนี้สาเหตุของการไม่อ่านหนังสือของประชากรมาจากการชอบฟังวิทยุ/ดูทีวีมากกว่าการอ่าน
 

การอ่านหนังสือนับเป็นปัจจัยและมูลเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดองค์ความรู้ การรับรู้ข่าวสารต่างๆที่ทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับการดำรงชีวิต และการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ดังนั้นหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนควรจะช่วยสนับสนุนให้ประชาชนรักการอ่านเพิ่มมากขึ้น
 



เข้าชม : 1924


บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด

      วันปิยมหาราช 17 / ต.ค. / 2566
      ร่วมตั้งชื่อลูกฮิปโป 13 / พ.ย. / 2562
      มาดูหนูดี สอนวิธีการพัฒนาสมองกันค่ะ 5 / ส.ค. / 2554
      วันแม่แห่งชาติ 29 / ก.ค. / 2554
      วันรพี 29 / ก.ค. / 2554




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้ [กด F5 ถ้ารหัสไม่ชัดเจน]
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ mocyc@hotmail.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
email สำนักงาน pna_nfedc@nfe.go.th 

สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดพังงา
  ๕๙ หมู่ที่ ๓   ตำบลตากแดด อำเภอเมืองพังงา  จังหวัดพังงา  ๘๒๐๐๐ โทร ๐๗๖ - ๔๘๑๐๓๕ - ๖ โทรสาร ๐๗๖ - ๔๘๑๐๓๗
 มีปัญหาในการใช้งานติดต่อผู้ดูแลระบบ  
muekzero24@gmail.com   ขอบคุณ อ.นิกร เกษโกมล ผู้พัฒนา cms

email สำนักงานกศน.จ.พังงา  pna_nfedc@nfe.go.th 
 
Powered by MAXSITE 1.10