[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 

  
อะม็อกซีซิลลิน
โดย : ดร. ศิรพงศ์ รักต์เธียรธรรม   เมื่อวันที่ : อาทิตย์ ที่ 13 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2560   


อะม็อกซีซิลลิน

อะม็อกซีซิลลิน / อะมอกซิซิลลิน (Amoxicillin) หรือยาที่คนทั่วไปรู้จักในชื่อการค้าว่า อะม็อกซิคลาฟ (Amoksiklav), อะม็อกซี (Amoxy), คูแรม (Curam), ไดม็อกซิน (Dymoxin), จีพีโอ ม็อกซ์ (GPO Mox) เป็นยาปฏิชีวนะพวกเดียวกับแอมพิซิลลิน (Ampicillin) ซึ่งสังกัดอยู่ในกลุ่มเพนิซิลลิน (Penicillins) แต่เนื่องจากยานี้ดูดซึมทางลำไส้ได้ดีกว่าและใช้ในขนาดเพียงครึ่งหนึ่งของยาแอมพิซิลลิน รวมทั้งรับประทานยาหลังอาหารได้ ในปัจจุบันจึงนิยมใช้ยานี้แทนยาแอมพิซิลลินในทุกกรณี
อะม็อกซีซิลลินเป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และมักทำให้เกิดความเข้าใจผิดในการใช้ยามากพอสมควร เพราะหลาย ๆ ครั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้หวัดมักจะถามหายาอะม็อกซีซิลลินเพื่อรับประทานแก้เจ็บคอ แต่โรคไข้หวัดนั้นเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งยาอะม็อกซีซิลลินไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ (ฆ่าได้แต่เชื้อแบคทีเรีย)
ตัวอย่างยาอะม็อกซีซิลลิน
ยาอะม็อกซีซิลลิน (ชื่อสามัญ) มีชื่อทางการค้า เช่น อะมาซิน (Amacin), เอเอ็มเค (AMK), อะม็อกซิคลาฟ (Amoksiklav), อะม็อกซิคลาฟ จีพีโอ (Amoksiklav GPO), อะม็อกซิลลิน (Amoxcillin), อะม็อกซีซิลลิน ทีพี ดรัก (Amoxycillin TP Drug), อะม็อกซีซิลลิน ยูโทเปียน (Amoxycillin Utopian), อะม็อกซิ ที.โอ. (Amoxi T.O.), อะม็อกซิล (Amoxil), อะม็อกซิน (Amoxin), อะม็อกลิน (Amoxlin), อะม็อกซ์ ซุส (Amox Sus – 250), อะม็อกซี (Amoxy), อะม็อกซี เอ็มเอช (Amoxy MH), เอเชียม็อกซ์ (Asiamox), ออกคลาฟ (Augclav), ออกเมนติน (Augmentin), ไบร-อะม็อกซ์ (Bry-amox), โบม็อกซ์ 500 (Bomox 500), คาม็อกซ์ (Camox), คาวูม็อกซ์ (Cavumox), คาโนซี (Clanoxy), คลาฟม็อกซี (Clavmoxy), คลาโวมิด (Clavomid), คูแรม (Curam), ไดม็อกซิน (Dymoxin), จีพีโอ ม็อกซ์ (GPO Mox), ไอบิอะม็อกซ์ (Ibiamox), แมนคลามาย (Manclamine), แมนม็อกซ์ (Manmox), ม็อกซิน (Moxcin), ม็อกซิเมด (Moximed), ม็อกซิโม (Moximo), ม็อกซิลแคป (Moxilcap), พอนด์น็อกซิล (Pondnoxcill), ไพ-อะม็อกซ์ (Py-amox), ไพม็อกซิล (Pymoxcill), แรนซิล (Rancil), ราน็อกซิล (Ranoxyl), เอส.เอ็ม. อะม็อกซ์ (S.M. amox), เซอร์วาม็อกซ์ (Servamox), ยูนิม็อกซ์ (Unimox) ฯลฯ
รูปแบบยาอะม็อกซีซิลลิน
•  ยาแคปซูล ขนาด 250 และ 500 มิลลิกรัม
•  ยาเม็ด ขนาด 500 และ 875 มิลลิกรัม
•  ยาน้ำเชื่อม ขนาด 125 และ 250 มิลลิกรัม/5 มิลลิลิตร (1 ช้อนชา)
•  ยาผงละลายน้ำ ขนาด 125, 200, 250 และ 400 มิลลิกรัม
•  ยาฉีด ขนาด 250, 500 และ 1,000 มิลลิกรัม
•  ยาเม็ดที่ผสมกับยาอื่น เช่น ออกเมนติน (Augmentin), อะม็อกซิคลาฟ (Amoksiklav)
ก่อนใช้ยาอะม็อกซีซิลลิน
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมถึงยาอะม็อกซีซิลลิน สิ่งที่ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบมีดังนี้
•  ประวัติการแพ้ยากลุ่มเพนิซิลลิน (เช่น อะม็อกซีซิลลิน, เพนิซิลลินวี, ไดคล็อกซาซิลลิน), ยากลุ่มเซฟาโลสปอริน (Cephalosporin) และยาอื่น ๆ ทุกชนิด รวมทั้งอาการจากการแพ้ยา เช่น รับประทานยาแล้วคลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่น หายใจติดขัด/หายใจลำบาก เป็นต้น
•  โรคประจำตัวต่าง ๆ และยาที่แพทย์สั่งจ่ายหรือที่ใช้เอง รวมถึงอาหารเสริม วิตามิน และยาสมุนไพรต่าง ๆ ที่กำลังใช้อยู่หรือกำลังจะใช้ เพราะยาอะม็อกซีซิลลินอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่น ๆ และ/หรืออาหารเสริมอื่น ๆ ที่รับประทานอยู่ก่อนได้ เช่น
o  การใช้ยาอะม็อกซีซิลลินร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น วาร์ฟาริน (Warfarin) อาจทำให้เลือดออกง่าย
o  การใช้ยาอะม็อกซีซิลลินร่วมกับยารักษาโรคเกาต์ เช่น ยาอัลโลพูรินอล (Allopurinol) อาจก่อให้เกิดผื่นคันตามร่างกายและอาจลุกลามจนถึงขั้นรุนแรงได้
o  การใช้ยาอะม็อกซีซิลลินร่วมกับยาเม็ดคุมกำเนิด เช่น ไดเนสตรอล (Dienestrol), ไดเอ็ททิลสติลเบสตรอล (Diethylstilboestrol) และสติลเบสทรอล (Stilboestrol) จะลดประสิทธิภาพของการคุมกำเนิด ทำให้การคุมกำเนิดไม่ได้ผล หรือมีประจำเดือนออกผิดปกติได้ จึงไม่ควรใช้ยานี้ร่วมกับยาเม็ดคุมกำเนิด
•  หากเป็นโรคตับ โรคไต โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด ไข้ละออง ผื่นลมพิษ หรือโรคฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria)
•  หากเป็นสุภาพสตรี ควรแจ้งว่ามีการตั้งครรภ์ หรือกำลังวางแผนในการตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายชนิดสามารถผ่านทางรกหรือน้ำนมและเข้าสู่ทารกจนอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อทารกได้
ข้อห้าม/ข้อควรระวังในการใช้ยาอะม็อกซีซิลลิน
•  ห้ามใช้ยาที่หมดอายุ
•  ควรระมัดระวังการใช้ยากับผู้ที่แพ้ยากลุ่มเพนิซิลลิน
•  ควรระมัดระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคตับ โรคไต โรคหอบหืด หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร ซึ่งผู้ป่วยในกลุ่มนี้ไม่ควรซื้อยานี้มารับประทานเอง ต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์และให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายยาเท่านั้น
Amoxicillin
Honestdocs
https://www.honestdocs.co/amoxicillin
https://www.honestdocs.co


เข้าชม : 593





Re หัวข้อ :
รูปประกอบ : Limit 100 kB
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
รายละเอียด :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ชื่อของท่าน :


 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกะปง
 หมู่ที่ 2 ตำบลท่านา อำเภอกะปง จังหวัดพังงา 82170 โทร 076-499433 โทรสาร 076-499433
E-mail : nfekapong@hotmail.com
FB : www.facebook.com/nfekpong

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05