[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 

  
วัณโรคปอด
โดย : ดร. ภัทร   เมื่อวันที่ : อังคาร ที่ 19 เดือน กันยายน พ.ศ.2560   


วัณโรคปอด
วัณโรคปอด เป็นโรคระบาดที่ทำลายชีวิตมนุษย์มาตั้งแต่โบราณ ต่อมาเมื่อค้นพบยารักษาวัณโรคจึงสามารถควบคุมได้ แต่ในระยะ 10 กว่าปีมานี้ วัณโรคกลับระบาดและทวีความรุนแรงขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศยากจน คาดว่ามีประชากรหนึ่งในสามติดเชื้อวัณโรคและเสียชีวิตเกือบล้านคนต่อปี ปัจจุบันประเทศไทยนับเป็นประเทศที่มีปัญหาวัณโรคสูง โดยก่อนนี้การป่วยเป็นวัณโรคของผู้ใหญ่ในประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ครั้นประมาณปี 2543 กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและมีความร้ายแรงขึ้นมาก ทั้งนี้เนื่องจากระบาดของเชื้อเอดส์ จึงทำให้วัณโรคแม้จะดูเป็นโรคธรรมดาแต่สามารถทำให้เสียชีวิตได้ วัณโรคปอดเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ ทุเบอร์เคิล แบซิลลัส นอกจากทำให้เกิดวัณโรคแล้วยังสามารถเกิดวัณโรคกับอวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้ เช่น ต่อมน้ำเหลือง กระดูก ลำไส้ ผิวหนัง แต่ร้อยละ 80 จะเกิดขึ้นที่ปอด เชื้อวัณโรคมีความทนทานมาก จึงอยู่ได้ทุกที่ไม่ว่าจะเป็นน้ำ อาหาร อาการ แช่อยู่ในน้ำแข็งได้เป็นร้อยวัน ทนความร้อน สารเคมี และอยู่ในที่มืดได้ถึงครึ่งปี แต่ไม่ทนแสงแดดจึงมักจะตายอยู่ในแสงแดด
การติดต่อ
เชื้อซึ่งอยู่ในปอดของผู้ป่วยจะออกมาอยู่ในบรรยายกาศขณะที่ผู้ป่วยไอ จาม บ้วนน้ำลาย ขากเสมหะ เมื่อเสมหะแห้งจึงฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ ดังนั้นจึงติดต่อได้ทั้งการสูดเชื้อเข้าไปในปอดหรือการสัมผัสสิ่งที่ปนเปื้อนเชื้อ เนื่องจากเชื้อวัณโรคปอดแพร่กระจายทางเดินหายใจมากที่สุด จึงพบเชื้อโรคได้ทั้งในบริเวณที่มีผู้ป่วยอยู่ บริเวณที่มีผู้คนพลุกพล่าน หนาแน่นหรือสถานที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก เช่น โรงภาพยนตร์ ศูนย์การค้า โรงพยาบาล ห้องที่อับ เป็นต้น คนส่วนใหญ่จึงเคยสัมผัสเชื้อวัณโรคมาแล้วเกือบทั้งนั้น การจะป่วยเป็นวัณโรคหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยเหล่านี้

1 สภาวะร่างกาย ความแข็งแรงของแต่ละบุคคล คนที่อ่อนแอ เช่น เด็กเล็กๆ ผู้สูงอายุ ผู้ที่เป็นโรงเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ผู้ที่มีสุขภาพทรุดโทรม เช่น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง โรคเอดส์หรือผู้ที่ได้ยากดภูมิคุ้มกันจะเป็นวัณโรคง่ายกว่าคนแข็งแรง
2 ปริมาณเชื้อที่ได้รับ คนที่อยู่บริเวณที่มีเชื้อมาก โอกาสเสี่ยงสูงกว่าคนที่อยู่บริเวณที่มีเชื้อน้อย

อาการ อาการในระยะแรกจะสังเกตได้ยากเพราะเกิดขึ้นช้าๆ เป็นทีละเล็กละน้อย ผู้ป่วยจึงไม่รู้ตัวว่าเป็นโรค อาการที่พบได้คือ
1 มีไข้เรื้อรังต่ำๆ จนอาจไม่ได้สังเกต มักจะเป็นตอนเย็นหรือตอนบ่าย
2 เหงื่อออกตอนกลางคืน
3 อ่อนเพลียเป็นประจำแม้ว่าจะพักผ่อนเพียงพอ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
4 ไอเรื้อรังแห้งๆ นานเป็นเดือน อาจไอน้อยหรือมากก็ได้ แต่เมื่อเป็นหนักขึ้นอาจไอเสียงดังโขลกๆมีเสมหะด้วย อาจรู้สึกเจ็บชายโครงเวลาไอ จะมีไอปนเลือดได้ในกรณีที่โรคลุกลามไปที่หลอดเลือดปอด
5 อาการแทรกซ้อนอาจพบได้ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีในปอดมีน้ำในช่องหุ้มปอด และหากเชื้อแพร่กระจายสู่อวัยวะอื่นๆ ก็จะกลายเป็นวัณโรคของอวัยวะนั้นๆ

การวินิจฉัย
- อาการและอาการแสดงดังกล่าวแล้ว
- ย้อมเสมหะ เป็นวิธีง่ายได้ผลเร็วแต่ต้องเก็บอย่างถูกวิธีและต้องเป็นเสมหะที่ไอจากหลอดลมส่วนลึก
- เอกซเรย์ปอด
- วิธีอื่นๆ เช่น การเพาะดูเชื้อ ทดสอบความไวของเชื้อ ตรวจชิ้นเนื้อซึ่งอาจทำเป็นเพียงบางรายแล้วแต่ดุลพินิจของแพทย์

การรักษา
วัณโรครักษาด้วยยาซึ่งมีหลายชนิด ส่วนใหญ่แพทย์มักใช้ร่วมกัน ตัวอย่างยาที่รักษา เช่น Isoniazid Rifampicin Pyracinamide Ethambutol Streptomycin ระยะเวลาในการให้ยาอย่างน้อยที่สุด 6 เดือน ถึง 2 ปีครึ่ง แม้วัณโรคจะเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่ก็สามารถกลับเป็นซ้ำได้เช่นกัน ดังนั้น เป้าหมายที่สำคัญในการรักษาคือ รักษาให้หายขาดเพื่อตัดวงจรการแพร่กระจายเชื้อและป้องกันการดื้อยาของเชื้อวัณโรค การรักษาด้วยวิธีอื่นๆ มีบ้างแต่น้อย เช่น รักษาด้วยวิธีผ่าตัด ซึ่งจะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีรอยโรคเฉพาะตำแหน่งหรือรับประทานยาแล้วมีผลข้างเคียงสูง

วัณโรคปอด
Honestdocs
https://www.honestdocs.co/tuberculosis-death-causes
https://www.honestdocs.co


เข้าชม : 330





Re หัวข้อ :
รูปประกอบ : Limit 100 kB
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
รายละเอียด :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ชื่อของท่าน :


 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกะปง
 หมู่ที่ 2 ตำบลท่านา อำเภอกะปง จังหวัดพังงา 82170 โทร 076-499433 โทรสาร 076-499433
E-mail : nfekapong@hotmail.com
FB : www.facebook.com/nfekpong

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05