ภาษาอังกฤษ yaws เป็นโรคติดต่อเรื้อรัง มีอาการเป็นแผลตามผิวหนัง พบได้ทั่วร่างกาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี พบได้ในชุมชนผู้ยากไร้ของประเทศเขตร้อน ในประเทศไทยเคยพบมากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พบมากในภาคใต้และภาคอีสาน แต่ปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่สามารถควบคุมโรคนี้ได้แล้ว
หมอชาวตะวันตกกำลังรักษาโรคคุดทะราดให้แก่ผู้หญิงชาวอินโดนีเซีย ,ภาพจาก wikipedia สาเหตุของโรคคุดทะราด : คือเชื้อแบคทีเรียรูปร่างเกรียว ชื่อทรีโพนีมา เพอร์นู (Treponema pertenue) สามารถแพร่กระจายได้ง่ายด้วยการสัมผัส และผ่านเข้าร่างกายทางแผล ผิวหนัง
อาการของโรคคุดทะราด : อาการของโรคหลังจากติดเชื้อไป 3-6 สัปดาห์ สามารถแบ่งระยะของโรคได้เป็น 3ระยะ
ระยะที่ 1 จะตรวจพบตุ่มนูนลักษณะคล้ายหูดที่ผิวหนัง คนไทยเรียกว่าตุ่มแม่ (mother yaw)
ระยะที่ 2 เรียกว่าระยะกระจายตัวของโรค โดยจะพบตุ่มนูนแดงอาจจะดูคล้ายดอกกะหล่ำ อาจจะพบต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้แผลบวมโต ซึ่งผู้ป่วยอาจจะมีไข้ตัวร้อน แผลหรือตุ่มนูนจะลุกลามไปที่ฝ่ามือฝ่าเท้า จนผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดได้
ระยะที่ 3 เป็นระยะที่แผลจะกินลึกลงไปที่เนื้อเยื้อชั้นล่าง รวมถึงกระดูกจนอานเป็นเหตุให้กระดูกกุดสั้น จนบางคนคิดว่าเป็นโรคเรื้อน แต่มีอาการที่แตกต่างจากโรคเรื่อนที่ไม่มีอาการทางประสาทส่วนกลาง ตา หลอดเลือด และไม่ทำให้เสียชีวิต
การติดต่อของโรค : ติดต่อด้วยการสัมผัสโรค เลือด สารคัดหลั่งจากแผล ฯลฯ
คุดทะราดเป็นโรคติดต่อที่ต้องแจ่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อป้องกันตามพรบ.โรคติดต่อ 2523 การรักษา : หากเป็นระยะแรกโอกาสหายเองจะสูงกว่า druggood.com แต่หากลุกลามก็สามารถรักษาได้ด้วยยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น เบนซาทีนเพนิซิลลิน 1.2 ล้านหน่วย กรณีผู้ป่วยไม่สามารถใช้ยาเพนิซิลลินได้อาจจะใช้ tetracycline, erythromycinชนิดเม็ดกิน หรือ Doxycycline นอกจากนั้นยังมีรายงานการศึกษาว่ายา azithromycin กินครั้งเดียวก็มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับ penicillin ชนิดฉีด โดยการรักษาโรคระยะที่1,2 หายขาดได้ แต่การเปลี่ยนรูปของกระดูกไม่สามารุถกลับมาเหมือนเดิมได้
การป้องกัน : ถึงแม้โรคนี้ไม่พบในประเทศไทยเป็นระยะเวลานานแล้วแต่ก็ควรป้องกันไว้ก่อนโดยปฎิบัตเช่นเดียวกับการป้องกันโรคติดเชื้ออื่นๆอาทิ -หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง -รักษาความสะอาดของผู้ดูแล และผู้ป่วยรวมถึงของใช้ส่วนตัวอย่าง เคร่งครัด -ทำร่างกายให้แข้มแข็ง ออกกำลังกายผักผ่อนให้เพียงพอ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก wikipedia กรมควบคุมและป้องกันโรค
เข้าชม : 379
|