[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 

  
ยาแก้อักเสบ
โดย : ดร. ศิรพงศ์ รักต์เธียรธรรม   เมื่อวันที่ : อาทิตย์ ที่ 22 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2560   


ยาแก้อักเสบ
ยาแก้อักเสบ หรือ ยาต้านอาการอักเสบ เป็นหนึ่งในยาที่หลายๆ คนคงได้ยินชื่อกันอยู่บ่อยๆ และหลายๆ คนก็มักจะหาซื้อยาดังกล่าวมาใช้เอง เพียงเพราะอาจจะรู้สึกเจ็บคอ เจ็บหู หรือเกิดแผลจากการล้ม เป็นต้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ยาแก้อักเสบที่ซื้อมานั้น ในทางการแพทย์เรียกว่า “ยาปฏิชีวนะ” หรืออาจเรียกอีกชื่อว่า “ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย” ซึ่งมีสรรพคุณในการทำลาย หยุดยั้ง และป้องกันเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นต้นเหตุของอาการอักเสบ ชาวบ้านก็เลยนิยมเรียกว่ายาแก้อักเสบ

เกาต์“ยาแก้อักเสบ” ที่ถูกต้องในทางการแพทย์นั้น จะใช้เพื่อหยุดยั้งการสร้างสารชนิดหนึ่งของร่างกายที่ชื่อว่า “พรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin)” ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดอาการอักเสบ และโดยส่วนใหญ่ แพทย์มักใช้ยาแก้อักเสบเพื่อต้านอาการอักเสบของผู้ป่วยโรคที่เกี่ยวกับข้อต่อกระดูกส่วนต่างๆ การอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น เยื้อหุ้มปอด เยื้อหุ้มหัวใจ เป็นต้น

สรรพคุณของ “ตัวยาแก้อักเสบชนิดต่างๆ”

อินโดเมทาซิน (Indomethacin) เป็นตัวยาที่มีสรรพคุณในการแก้อักเสบของโรคปวดข้อรูมาตอยด์ ข้อสันหลังอักเสบเรื้อรัง เกาต์ระยะเฉียบพลัน ข้อเสื่อมชนิดรุนแรง ลดอาการอักเสบของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อที่เกิดจากการข้อเคล็ดหรือข้อแพลงไอบูโพรเฟน (ชนิดเม็ด)
ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เป็นตัวยาที่มีสรรพคุณในการรักษาเหมือนกันตัวยาอินโดเมทาซิน (Indomethacin) และยังมีสรรพคุณในการลดไข้ แก้ปวด บรรเทาอาการปวดประจำเดือนและอาการปวดไมเกรน
นาโพรเซน (Naproxen) เป็นตัวยาที่มีสรรพคุณเช่นเดียวกับตัวยาไอปูโพรเฟน (Ibuprofen)
ไดโคลฟีแนก (Diclofenac) เป็นตัวยาที่มีสรรพคุณเหมือนกับไอปูโพรเฟน (Ibuprofen) และยังมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการปวดนิ่วในท่อไต
ไพร็อกซิแคม (Piroxicam) เป็นตัวยาที่มีสรรพคุณเหมือนกับตัวยาทั้ง 4 ชนิดในข้างต้น และยังมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการปวดแผลหลังคลอดและอาการปวดแผลหลังผ่าตัด
ยาแก้อักเสบ แต่ละชนิดจะมีสรรพคุณในการรักษาและบรรเทาอาการค่อนข้างใกล้เคียงกันมาก ดังนั้น ผลข้างเคียงและข้อห้ามในการใช้ยาแต่ละชนิดจึงไม่ค่อยแตกต่างกันเท่าไหร่ ซึ่งหากผู้อ่านต้องการทราบถึงรายละเอียดดังกล่าว แนะนำให้อ่านได้ที่บทความ “ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)” และ “ไดโคลฟีแนก (Diclofenac)“ ซึ่งเป็นตัวยาที่ได้รับความนิยมในการใช้เพื่อต้านอาการอักเสบ และทั้ง 2 บทความ ยังได้อธิบายถึงสรรพคุณและวิธีการใช้ยาอีกด้วย

ถึงแม้ว่าเราจะมีความรู้เกี่ยวกับ “ยาแก้อักเสบ“ แต่ตัวยากลุ่มนี้เป็นตัวที่ไม่ควรซื้อมาใช้ด้วยตนเอง เพราะยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับตัวยาอีกมากที่เราอาจไม่รู้ ดังนั้น หากมีอาการป่วยที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับสรรพคุณของตัวยาแก้อักเสบ เช่น ปวดข้อ ปวดประจำเดือนรุนแรง ปวดหัวเหมือนเป็นไมเกรน เป็นต้น เราควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการให้ถูกต้อง ทั้งนี้ ก็เพื่อให้สามารถรักษาอาการได้อย่างถูกต้อง หรือบางทีอาจไม่ต้องใช้ยาแก้อักเสบเลยก็เป็นได้ หรือถ้าต้องใช้จริง ก็จะได้รับยาที่ถูกต้อง ตรงกับอาการที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะทำให้หายจากอาการป่วยได้จริง

ยาแก้อักเสบ
HonestDocs
https://www.honestdocs.co/how-to-take-antibiotics-the-right-way
www.honestdocs.co


เข้าชม : 397





Re หัวข้อ :
รูปประกอบ : Limit 100 kB
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
รายละเอียด :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ชื่อของท่าน :


 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกะปง
 หมู่ที่ 2 ตำบลท่านา อำเภอกะปง จังหวัดพังงา 82170 โทร 076-499433 โทรสาร 076-499433
E-mail : nfekapong@hotmail.com
FB : www.facebook.com/nfekpong

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05